เตรียมความพร้อมก่อนเลี้ยงไก่ไข่สาว
โรงเรือนเลี้ยง ใช้พื้นที่
1 ตารางเมตร ต่อไก่สาว 5 ตัว ล้อมรั้วหรือตาข่ายป้องกันศัตรู เช่น
งู สุนัข ตะขาบ
แมลงป่อง รวมถึงสัตว์มีพิษอื่น
ๆ
การเลี้ยงแบบขังปล่อยในโรงเรือนจะให้ผลดีกว่าแบบเลี้ยงปล่อยในพื้นที่โล่งกว้างซึ่งไก่จะเดิน เล่น
กินอาหารได้น้อย
ระบบสืบพันธุ์สมบูรณ์ช้าทำให้ไก่ไข่ช้าไม่ตรงตามอายุ แต่หากต้องการเลี้ยงเพื่อการค้าโดยเฉพาะควรเลี้ยงในกรงตับจะให้ผลมากกว่า
ไข่จะดีกว่าเนื่องจากไก่แต่ละตัวได้กินอาหารเต็มที่ทำให้การเจริญเติบโตดี
จัดการดูแลความสะอาดง่าย
เปลี่ยนวัสดุรองพื้นหนา
2-3
นิ้ว อย่าปล่อยให้โรงเรือนมีกลิ่นเหม็นเพราะทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไก่ป่วย
(EM ,
น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำให้ไก่กินเป็นประจำช่วยให้ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากมูลไก่ได้)

รังไข่
ควรหามุมที่ไก่รู้สึกปลอดภัย เป็นส่วนตัว ไม่วุ่นวาย รองพื้นชั้นล่างด้วยตะไคร้หอมหรือใบยูคาลิปตัสเพื่อป้องกันไร รองพื้นชั้นบนสุดด้วยฟางข้าว หากมีวัสดุรองพื้นที่ดีจะทำให้ประหยัดเวลาในการเช็ดมูลไก่ออกจากเปลือกไข่
หลอดไฟส่องสว่าง หลอดไฟ LED ขนาด 5 วัตต์ เปิดตั้งแต่ เวลา 6 โมงเย็น – ตี 5 การเปิดไฟช่วยกระตุ้นการกินอาหารของไก่ได้ด้วย
ฤดูหนาวควรใช้หลอดมีไส้แบบ 60 วัตต์ โรงเรือนไม่ควรให้ลมหนาวโกรก
ถังน้ำ ขนาด
8 ลิตรจำนวน 1 ถัง ต่อไก่ 30 ตัว ควรเปลี่ยนน้ำสะอาดทุกวัน ต้องมีน้ำในถังตลอดทั้งวัน
ในช่วงอากาศร้อนควรเพิ่มถังน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ
ทำความสะอาดถังน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ถังใส่อาหาร แบบแขวนหรือแบบวางพื้น ขนาดใหญ่ 1 ถังต่อไก่ 20 ตัว
อาหาร ให้อาหารไก่ระยะไข่อายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป โปรตีนมากกว่า 18 % (อาหารชนิดเม็ดเมื่อไก่คุ้ยเขี่ยอาหารตกพื้นสามารถจิกกินต่อได้อีก) ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น
วิตามินไก่ไข่ ช่วยบำรุงเสริมสร้างระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไข่สม่ำเสมอ
เปลือกไข่หนาไม่แตกง่าย สีสวย
ยาถ่ายพยาธิ
ควรจัดการถ่ายพยาธิโดยผสมยาถ่ายในน้ำ ให้ติดต่อกัน 3-5 วัน
รับไก่มาวันแรกทำอย่างไรดี
ให้น้ำผสมวิตามิน
Bio B12 ทันที
เพื่อกระตุ้นการกิน และลดความเครียดที่เกิดการเคลื่อนย้าย หรือช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
เช่นอากาศชื้นจากฝนตก อากาศหนาวจัด อากาศร้อนจัด ผสมเบต้าไมซินในน้ำในช่วงปรับตัวป้องกันหวัด หากอากาศค่อนข้างปกติไม่จะเป็นต้องทำตามข้างต้น
หลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมงต่อมาจึงให้อาหาร อาหารให้ 2 เวลา เช้าและเย็น ช่วงแรกเน้นให้เฉพาะอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวห้ามผสมอาหารลดต้นทุน เพื่อไก่สาวได้รับสารอาหารที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไข่อย่างเต็มที่
เมื่อไก่เริ่มปรับตัวเข้ากับสถานที่ได้แล้ว
จากนั้นอีกประมาณ 1 สัปดาห์
ผสมวิตามินไก่ไข่ละลายน้ำ หรือผสมลงในอาหาร จนได้จำนวนไข่ที่มากพอแล้วจึงค่อยหยุด
สามารถให้อาหารลดต้นทุนเช่นรำ หยวกกล้วย ผัก ผลไม้ได้ เมื่อไก่ให้เปอร์เซ็นไข่มากขึ้นหรือให้เสริมช่วงกลางวันหลังอาหารมื้อหลัก
สรุปคำถามที่พบบ่อย
- ต้องเลี้ยงอีกกี่วันไก่ถึงจะไข่
ไก่ไข่สาวอายุ 17-18 สัปดาห์
ลูกค้ารับไปเลี้ยงต่ออีก 2-4 สัปดาห์จึงเริ่มทยอยไข่
ช่วงแรกเน้นให้เฉพาะอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว เพื่อไก่ได้รับสารอาหารครบตามที่ต้องการเพื่อผลิตไข่
- ต้องให้อาหารอย่างไร
ให้วันละ 2 ครั้งเช้าและเย็น อาหารไก่ไข่แบบเม็ดสูตรอายุ
16 สัปดาห์ขึ้นไป เฉลี่ยตัวละ 120 กรัม/ตัว/วัน

- ไก่กินอาหารน้อย ไก่เบื่ออาหาร
ควรผสมน้ำลงเปล่า หรือผสมกากน้ำตาลลงไปในอาหารเพื่อกระตุ้นการกิน ไม่ควรปล่อยให้ไก่เบื่ออาหารนาน ๆ
เพราะจะทำให้ไก่ผอม ไข่ช้าเกินกว่ากำหนด และเกิดการป่วยไปในที่สุด
- ไก่ทำวัคซีนมาแล้วหรือยัง
ไก่สาวได้วัคซีนครบตามมาตรฐานจากฟาร์มมาแล้ว
วัคซีนแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาคุ้มโรคแตกต่างกันไป เมื่อถึงกำหนดลูกค้าต้องทำซ้ำเช่นวัคซีนนิวคาสเซิน+หลอดลมอักเสบ ,อหิวาต์, ถ่ายพยาธิ ทำทุก ๆ 3 เดือน วัคซีนฝีดาษเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาด
- วัคซีนหาซื้อได้ที่ไหน
ปศุสัตว์อำเภอ
หรือจังหวัด ร้านขายยาสัตว์โดยเฉพาะ
- ไก่ป่วยต้องทำอย่างไร
คัดแยกไก่ตัวที่ป่วยออกจากฝูง
สังเกตลักษณะอาการไก่ที่ป่วย
แจ้งอาการป่วยที่ร้านขายยา หรือขอคำปรึกษาจากผู้ขายเพื่อแนะนำยาที่เหมาะสม
ในกรณีที่เลี้ยงบริโภคในครัวเรือน เมื่อผู้เลี้ยงเริ่มมีประสบการณ์แล้ว ผู้เลี้ยงแต่ละท่านสามารถดัดแปลง ปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการเลี้ยงให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเอง สามารถใช้วัตถุดิบที่เรามีในแหล่งชุมชนของเราเพื่อลดต้นทุนได้ ไม่มีอะไรผิดและถูกเสมอไป ทุกอย่างอยู่ที่การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ขอให้รักษาความสะอาดของเล้า ดูแลสุขภาพไก่ให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ หากทดลองแล้วไข่น้อยลงก็กลับมาใช้สูตรหลัก
เพจ : FaceBook